ประวัติศาสตร์เรื่องน่ารู้

รู้หรือไม่ “พิพิธภัณฑ์” แรกเริ่มไม่ได้แปลว่าสถานที่เก็บโบราณวัตถุ

ทุกคนน่าจะเคยไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์กันอย่างน้อยก็คนละที่ แต่ทุกๆ ที่จะมีคอนเซ็ปต์ หรือแนวคิดแบบเดียวกัน นั่นก็คือเป็นสถานที่เก็บโบราณวัตถุต่างๆ ที่ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม แต่ถ้าจะให้พูดตามตรง คอนเซ็ปต์แรกเริ่มของพิพิธภัณฑ์ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเหตุผลนั้น แต่มันจะเป็นอะไรได้ล่ะ? มาลองย้อนประวัติศาสตร์กัน

พิพิธภัณฑ์ แปลว่าอะไร?

พิพิธ แปลว่า หลากหลาย ส่วน ภัณฑ์ แปลว่า สิ่งของ ดังนั้นความหมายโดยแรกเริ่มของพิพิธภัณฑ์ก็คือ สถานที่ที่มีความหลากหลายทางด้านสิ่งของ ซึ่งในอดีต พิพิภัณฑ์ เป็นเหมือนสถานที่จัดงานและแสดงสินค้าเสียมากกว่า

ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 พิพิธภัณฑ์ ไม่ได้เป็นความหมายของคำว่า “Museum” เพราะในสมัยนั้นมีการใช้การทับศัพท์ว่า “มิวเซียม” โดยตรง แต่ในช่วงนั้น พิพิธภัณฑ์ จะใช้ในการเรียกงานจัดแสดงสินค้านานาชาติ หรือ Internation Exhibition หรืองาน Expo นั่นเอง ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ลักษณะงานเช่นนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักในสยาม แต่สยามก็พยายามส่งสิ่งของไปแสดงในงานดังกล่าวด้วย

เพราะงาน Expo เป็นเหมือนงานที่แสดงเพื่อโอ้อวดความเป็นอารยะของแต่ละชนชาติผ่านสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ในช่วงเวลานั้นที่เป็นเหมือนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือโบราณวัตถุที่แสดงให้เห็นว่าเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน

สยามได้มีการส่งสินค้าไปแสดงครั้งแรกในปี 2405 ที่ประเทศอังกฤษ และอีกครั้งในปี 2410 ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะทำให้สยามเป็นที่รู้จักในสังคมโลกมากขึ้น และแสดงความเป็นอารยะในโลกตะวันตก

อาคารจัดแสดงสินค้า Exposition Universelle ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1867

จุดเริ่มต้นพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บโบราณวัตถุในประเทศไทย

ในช่วงประมาณปี 2415 พระที่นั่งประพาส ในพระอภิเนาว์นิเวศน์ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บสิ่งของส่วนพระองค์และเครื่องบรรณาการที่ได้รับมาจากต่างประเทศ นั้นเกิดทรุดโทรม จึงได้มีการบูรณะ รื้อสร้างใหม่ในหลายๆ ส่วน สิ่งของทั้งหลายจึงถูกโยกย้ายไปยังสถานที่อื่นๆ ในพระบรมมหาราชวัง แต่ยังไม่มีการเปิดให้ประชาชนได้เข้าดู

ต่อมาในสมัยของรัชกาลที่ 5 ได้มีคำสั่งให้ย้ายสิ่งของต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในวัง ให้มารวมอยู่ด้วยกันในที่เดียวที่หอคอยคองคอเดีย หรือศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน และจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราว และตั้งชื่อนิทรรศการดังกล่าวว่า “ตั้งมิวเซียม (มิวเซียมสยามปัจจุบัน)” เมื่อปี 2471 และนับเป็นครั้งแรกในสยามที่มีการนำสิ่งของมาจัดแสดงให้ประชาชนได้เข้าชม (Public Museum) เนื่องในวาระงานเฉลิมพระชนมพรรษา 20 กันยายน พ.:ศ. 2417 และได้ยึดเอาวันที่ 19 กันยายนเป็น “วันพิพิธภัณฑ์ไทย”

มิวเซียมสยาม ปัจจุบัน

แต่หลังจากที่รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกก็เริ่มเข้าใจคอนเซ็ปต์ของคำว่า “มิวเซียม” มากขึ้น จึงได้ส่งของไปจัดแสดงในต่างประเทศน้อยลง จัดแสดงในประเทศมากขึ้น โดยจัดงานแสดงสิ่งของ ประกวดสิ่งของต่างๆ ในบริเวณวัดเบญจมพิตร และโปรดเกล้าให้งานดังกล่าวจัดขึ้นทุกปี

กว่าที่คำว่า Museum ในภาษาอังกฤษ จะถูกแปลว่าพิพิธภัณฑ์ และทำให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันว่าพิพิธภัณฑ์คือสถานที่เก็บวัตุโบราณ ก็ล่วงเข้าสู่ช่วงปลายรัชกาลที่ 6 หรือต้นรัชกาลที่ 7 แล้ว 

สรุป

พิพิธภัณฑ์ ความหมายแรกเริ่มเดิมก็คือสถานที่จัดการแสดงแสดงความหลากหลายของสินค้า หรือสิ่งของเพื่อแสดงสัญญะทางอารยะ และยังไม่ใช่ความหมายโดยตรงของคำว่า Meseum อีกด้วย เพราะในต่างชาติสถานที่จัดงานแสดงสินค้า และ มิวเซียม คือคนละประเภท แต่สำหรับสยาม ได้มีการรวมทั้ง 2 ความหมายเข้าด้วยกัน จนล่วงในช่วง 100 ปีหลังมานี้ที่เราเริ่มแยกพิพิพิธภัณฑ์จากงานแสดงสินค้า

Related posts
ความงามเซเลบริตี้เรื่องน่ารู้ไลฟ์สไตล์

9 ไอเดียใส่สูทผู้ชายอย่างไรให้ปัง

ในปัจจุบัน…
Read more
อื่นๆเรื่องน่ารู้

“ตุ่นปากยาว” สัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่เคยถูกเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปจากโลก

หลังจากที่เพจเฟซบุค มูลนิธิ สืบ…
Read more
ธุรกิจอื่นๆเทคโนโลยี่เรื่องน่ารู้ไลฟ์สไตล์

เช่ารถเครนที่ไหนดี ใช้บริการรถเครนให้เช่า ต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง 

การที่จะยก โยก…
Read more
รับสมัครข่าวสาร
มาเป็นผู้นำเทรนด์

ลงชื่อสมัคร แบรนด์ฟอล แทลเอ็นท และรับสิ่งที่ดีที่สุดของ แบรนด์ ฟอล แทลเอ็นท ที่ปรับแต่งมาเพื่อคุณ