เทคโนโลยี่เรื่องน่ารู้ไลฟ์สไตล์

LINE ALERT คืออะไร มีประโยชน์อะไรบ้าง และเพิ่มแพลตฟอร์มได้อย่างไร 

หลังจากที่บริษัท ไลน์ คอมพานี จำกัด หรือที่เรารู้จักกันดีใน แอปพลิเคชัน ไลน์ ได้ร่วมมือกันกับ กรมอุตุนิยมวิทยา และ ปภ. หรือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ลงนาม MOU เปิดตัวบัญชีทางการสำหรับแจ้งภัยพิบัติและอัปเดตข้อมูล ในการแจ้งเตือนให้กับประชาชน ในชื่อ Line Alert เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา แต่ถึงแม้ว่าจะผ่านมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่อาจมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าแพลตฟอร์ม Line Alert มีประโยชน์ในด้านใด และให้บริการในเรื่องอะไรบ้าง เราจะพาทุกคนมาดูแพลตฟอร์มที่ว่านี้ด้วยกันค่ะ 

สามารถแอดบัญชีไลน์อะเลิร์ทที่ @linealert และเมื่อทำการเพิ่มเพื่อนเรียบร้อย จะเข้าสู่หน้าแพลตฟอร์ม ซึ่งจะมีหน้าต่าง ดังนี้ อัปเดตภัยพิบัติ เช็กพื้นที่เสี่ยง วิธีการป้องกันตัวเอง โรงพยาบาลใกล้เคียง รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน ให้เลือกคลิก และในส่วนของหน้าต่าง บริจาค ยังไม่เปิดใช้เป็นทางการในขณะนี้ เรามาดูกันหน่อยว่ามีบริการอะไรกันบ้าง 

Line Alert ให้บริการอะไรบ้าง 

บริการอัพเดตด้านภัยพิบัติ 

คลิกที่หน้าต่างนี้ หากมีภัยพิบัติ ป๊อบอัพจะเด้งเตือนพร้อมกับรายละเอียดข้อมูล แต่ถ้าไม่มีภัยใด ๆ จะไม่มีป๊อบอัพเด้งขึ้นมาหลังจากที่เราคลิกกดดู 

เช็กพื้นที่เสี่ยง RISK AREA

เมื่อคลิกป๊อบอัตตัวนี้ ระบบจะขึ้นหน้าต่างร้องขอสิทธิ์เข้าถึง ซึ่งเราสามารถเลือกกด อนุญาต หรือ ยกเลิก ตามความสมัครใจ หากกดอนุญาต ก็จะพาไปยังหน้าอื่น ๆ ต่อไป แต่ถ้ากดยกเลิก มันก็จะเด้งกลับไปยังหน้าหลักตามเดิม  

รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน  มีดังนี้ 

  1. แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 
  2. แจ้งเหตุเพลิงไหม้ 199 
  3. แจ้งอุบัติเหตุทางน้ำ 1196
  4. อุบัติเหตุทางด่วน 1543 
  5. ตำรวจทางหลวง 1193
  6. แพทย์ฉุกเฉิน 1669
  7. กู้ชีพวชิระพยาบาล 1554 
  8. โรงพยาบาลตำรวจ 1691
  9. การไฟฟ้านครหลวง 1130 
  10. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1129 
  11. ร่วมด้วยช่วยกัน 1677
  12. ข้อมูลการจราจร 1197

โรงพยาบาลใกล้เคียง 

เมื่อคลิกป๊อบอัพโรงพยาบาลใกล้เคียง ระบบจะพาไปยังหน้าแมพ แสดงแผนที่ประเทศไทย พร้อมหมุดและชื่อของโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เรา 

การป้องกันตัวเอง 

ป๊อบอัพนี้ จะมีหน้าต่างแนะวิธีการป้องกันตัวเองจากน้ำท่วม ไฟไหม้ พายุ และ แผ่นดินไหว 

1. “การป้องกันตัวจากน้ำท่วม” จะมีข้อแนะนำ การเตรียมตัวก่อนน้ำท่วม และ ข้อควรทำเมื่อน้ำท่วม 

ก่อนน้ำท่วม : เตรียมพร้อม ติดตาม เฝ้าระวัง 

  • สังเกตระดับน้ำ และ ติดตามประกาศแจ้งเตือนต่าง ๆ
  • เตรียมยกของขึ้นที่สูง 
  • หากมีการแจ้งอพยพ ให้รีบอพยพทันที 
  • เตรียมอพยพสมาชิกในบ้านและสัตว์เลี้ยงไปที่ปลอดภัย 

เมื่อน้ำท่วม : แจ้งเหตุอุทกภัย 24 ชั่วโมง ได้ที่ สายด่วนนิรภัย 1784 หรือ ไลน์ @1784ddpm

  • รีบแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 
  • ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า 
  • ดูแลบุตรหลานไม่ให้ไปเล่นน้ำในพื้นที่น้ำท่วม น้ำไหลหลาก 
  • เลี่ยงการขับรถไปยังพื้นที่หรือเส้นที่น้ำท่วม 

2. “การป้องกันตัวจากไฟไหม้” จะมีวิธีอพยพออกจากอาคารเพลิงไหม้อย่างปลอดภัย ดังนี้ 

  • ก่อนออกจากห้องให้ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิด หากมีความร้อนสูง ห้ามเปิดประตูออกไปอย่างเด็ดขาด เพราะเพลิงจะลุกลามเข้ามาในห้อง ควรปิดห้องให้สนิท แล้วใช้ผ้าหนา ๆ ชุบน้ำอุดตามช่องที่ควันไฟสามารถลอยเข้าข้างในได้ แต่ถ้าหากลูกบิดไม่ร้อน ให้เปิดออกไปช้า ๆ และอพยพไปตามเส้นทางหนีไฟ 
  • หมอบคลานต่ำไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย เพราะอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือพื้นในระดับไม่เกิน 1 ฟุต เพื่ออพยพไปสู่ประตูทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด 
  • ไม่ใช้บันไดภายในอาคารเป็นเส้นทางอพยพหนีไฟ  เพราะบันไดมีลัษณะเป็นปล่อง ทำให้ควันไฟและเปลวเพลิงพุ่งขึ้นมาปกคลุม เสี่ยงต่อการสำลักควันไฟและถูกไฟคลอกเสียชีวิตได้ 
  • หลีกเลี่ยงการสูดควันไฟ โดยใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์มาครอบศีรษะ ป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย จนทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ 

3. “การป้องกันตัวจากพายุ” วิธีรับมือพายุ ลดเสี่ยงอันตราย  

เตรียมพร้อมรับมือ  

  • ติดตามพยากรณ์อากาศ 
  • ตรวจสอบอาคารบ้านเรือนให้มั่นคง แข็งแรง 
  • จัดเก็บสิ่งของที่ปลิวลมได้ในที่มิดชิด 
  • ตัดแต่งกิ่งไม้และต้นไม้ที่เสี่ยงต่อการหักโค่น 
  • พบเห็นเสาไฟฟ้าหรือป้ายโฆษณาไม่แข็งแรงให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

การปฏิบัติตนให้ปลอดภัย 

  • กรณีอยู่ในอาคาร : 1.)ไม่ควรอยู่บริเวณดาดฟ้าหรือระเบียง เพราะเสี่ยงถูกฟ้าผ่า  2.) ปิดประตูและหน้าต่างให้มิดชิด ป้องกันอันตรายจากลมแรง 3.) งดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และโทรศัพท์มือถือ ป้องกันการถูกฟ้าผ่า 
  • กรณีอยู่กลางแจ้ง : 1.) อยู่ให้ห่างจากสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง ป้องกันการถูกล้มทับ 2.) ไม่อยู่ใกล้วัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า 3.) งดใช้เครื่งอมือสื่อสาร และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ลดเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า 

4. “การป้องกันตัวจากแผ่นดินไหว” แนะนำการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว 

เมื่ออยู่ในอาคาร 

  • ปฏิบัติตามหลัก หมอบ ป้อง เกาะ  โดยหมอบใต้โต๊ะหรือหลบในจุดที่มีโครงสร้างแข็งแรง พร้อมยึดเกาะโต๊ะหรือที่กำบังและเคลื่อนตัวไปตามแรงสั่นสะเทือน 
  • ห้ามใช้ลิฟท์ เพราะหากไฟฟ้าดับ จะติดค้างภายในลิฟต์ ทำให้ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิต
  • หากไม่มีที่หลบกำบัง ให้หมอบราบกับพืันหรือก้มต่ำ ใช้แขนหรือมือกำบังศีรษะและลำคอ เพื่อป้องกันสิ่งของตกใส่ 
  • ไม่หลบในพื้นที่เสี่ยงอันตราย เช่น บริเวณใต้คาน ใกล้เสา ระเบียง ประตู กระจก หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ล้มทับได้ 
  • รอแผ่นดินไหวสงบ ค่อยออกจากอาคาร เพราะแรงสั่นสะเทือนสามารถทำให้สิ่งของหล่นใส่ได้ 

เมื่ออยู่นอกอาคาร 

  • อยู่ห่างจากสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ โดยเฉพาะต้นไม้ เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา กำแพง เพราะอาจพังถล่มหรือล้มทับได้ 
  • จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่อยู่ใต้สะพานหรือทางด่วน ไม่อยู่ใกล้ป้ายจราจร ป้ายโฆษณา หรือเสาไฟฟ้า รอจนแผ่นดินไหวสงบ จึงค่อยขับรถไปต่อ 

นับว่าเป็นอีกแพลตฟอร์มที่มีประโยชน์เลยทีเดียว ช่วยลดความเสี่ยงและอัตราการสูญเสียจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน 

Related posts
ความงามเซเลบริตี้เรื่องน่ารู้ไลฟ์สไตล์

9 ไอเดียใส่สูทผู้ชายอย่างไรให้ปัง

ในปัจจุบัน…
Read more
ความงามไลฟ์สไตล์

How to ทาลิปสติกอย่างไรให้สวยปัง ฉบับสาวผิวสองสี  

สาว ๆ บ้านเรามีทั้งผิวขาวใส…
Read more
อื่นๆเรื่องน่ารู้

“ตุ่นปากยาว” สัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่เคยถูกเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปจากโลก

หลังจากที่เพจเฟซบุค มูลนิธิ สืบ…
Read more
รับสมัครข่าวสาร
มาเป็นผู้นำเทรนด์

ลงชื่อสมัคร แบรนด์ฟอล แทลเอ็นท และรับสิ่งที่ดีที่สุดของ แบรนด์ ฟอล แทลเอ็นท ที่ปรับแต่งมาเพื่อคุณ